www.homemarketsguide.co.th
Share รายการข่าวนี้

 

        สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับตัวลดลง  0.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  47.95  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง  0.62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 45.01 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 0.04  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 44.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล   ในส่วนของราคาน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น  0.14 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่   65.66  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  และราคาน้ำมันดีเซลลดลง 0.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  58.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Official Manufacturing Purchasing Managers’ Index, PMI) ในเดือน ก.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1 จุด มาอยู่ที่ 49.8 จุด และเป็นเดือนที่ 2 ที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด ซึ่งเป็นระดับบ่งบอกการหดตัว
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics หรือ NBS) รายงานผลกำไรของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม (Industrial Companies’ Profits) เดือน ส.ค. 58 ลดลงจากปีก่อน 8.8% หรือ 56 แสนล้านหยวน ประมาณ 24.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลดลงในอัตราสูงสุดตั้งแต่ปี 2554 จากต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น เพราะค่าเงินหยวนผันผวน ขณะที่ราคาขายสินค้าลดลง ส่งผลให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี,น้ำมันและวัสดุก่อสร้างมีกำไรหดตัวลง ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กกล้า,ถ่านหิน และโลหะไร้สนิมประสบภาวะขาดทุน
  • กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry หรือ METI) รายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Factory Output) เดือน ส.ค. 58 ปรับตัวลดลงลดลงจากเดือนก่อน 5% ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ยอดขายปลีก (Retail Sales) ในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.8% ต่ำกว่าผลสำรวจของนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.1%
  • กระทรวงน้ำมันอิรักเปิดเผยปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ก.ย. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 03 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 3.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการส่งออกผ่านท่าทางตอนใต้ 3.02 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ บริษัทน้ำมันแห่งชาติ South Oil Company (SOC) ชี้ว่างบประมาณที่ถูกจำกัดเพราะราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้ปริมาณการส่งออกจากทางตอนใต้จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2559
  • Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 9 ล้านบาร์เรล สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเพียง 0.1 ล้านบาร์เรล
  • Commodity Futures Trading Commission (CFTC) รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 58 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับลดสถานะซื้อสุทธิ (Net Long Position) ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 7,701 สัญญา มาอยู่ที่ 251,728 สัญญา

 

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 2/58 (ตัวเลขทบทวนล่าสุด) ขยายตัว จากไตรมาสก่อน 3.9 % สูงกว่าที่รายงานเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.7 % จากการใช้จ่ายของผู้บริโภค (คิดเป็นสัดส่วนกว่า 2 ใน 3 ของ GDP สหรัฐฯ) ด้านสาธารณสุข และการเดินทางขนส่ง เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) รายงานยอดสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่ภาคธุรกิจ (ไม่รวมสถาบันการเงิน) เดือน ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.1% อยู่ที่ 0.4 % และยอดสินเชื่อให้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.1% อยู่ที่ 1%
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ในเดือน ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3%  สวนทางกับผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters ที่คาดว่าจะลดลงจากปีก่อน  2.0%
  • Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ต.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 26 แท่น มาอยู่ที่ 614 แท่น  และต่ำสุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 53
  • บริษัท Shell ประกาศยกเลิกโครงการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบนอกชายฝั่งทะเล Arctic ที่ขั้วโลกเหนือเพราะ ผลสำรวจแหล่งน้ำมันดิบในแปลงสัมปทานของบริษัทพบปริมาณสำรองน้อย ทั้งนี้ Shell ใช้เงินสำหรับการสำรวจแล้วกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และต้องใช้เงินอีกราว 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยกเลิกโครงการและย้ายแท่นผลิตรวมทั้งระบบท่อออกจากพื้นที่

 

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

       ราคาน้ำมันดิบในตลาดปรับตัวในทางบวกเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาจากสงครามในซีเรียที่รัสเซียทิ้งระเบิดกลุ่ม Islamic State อย่างหนักหน่วงและต่อเนื่อง ประกอบกับอิหร่านส่งทหารหลายร้อยนายเพื่อปฎิบัติการโจมตีภาคพื้นดินเสริมการโจมตีทางอากาศของรัสเซียซึ่งทำให้สงครามกลางเมืองในซีเรียมีแนวโน้มขยายตัวเป็นสงครามระดับภูมิภาค ประกอบกับผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ลดจำนวนแท่นผลิตน้ำมันดิบลง อย่างไรก็ตาม  ทิศทางภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัวซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ANZ ประเมินอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไตรมาส 3/58 อยู่ที่ 6.8% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 7% โดยพิจารณาจากค่า PMI ภาคการผลิตที่รัฐบาลรายงาน (ตัวเลขภาครัฐเน้นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่) เดือน ก.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.1 จุด อยู่ที่ 49.8 จุด  ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจจีนฉุดรั้งเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ด้านอุปทานน้ำมันซาอุดีอาระเบียผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ประกาศเดินหน้าลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันทั้งการสำรวจและผลิต รวมทั้งโรงกลั่นน้ำมัน เช่นเดียวกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ยืนยันแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากปัจจุบันที่ 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน  เพิ่มขึ้นสู่ 3.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2560  ทวนกระแสการปรับลดการลงทุนผลิตน้ำมันดิบที่ IEA ระบุบริษัทน้ำมันทั่วโลกลดงบลงทุนปีนี้ลงกว่า 20% จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกตกต่ำ แสดงจุดยืนที่ชัดเจนของซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะคงปริมาณการผลิตน้ำมันในระดับสูงต่อไป ทางด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิคในสัปดาห์นี้ คาดว่าราคา ICE Brent เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ  47.55-50.50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  ส่วน NYMEX WTI อยู่ที่ 44.75-47.70 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  และราคาน้ำมันดิบ Dubai อยู่ที่ 45.55-48.50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล 

 

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

        สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นจากข่าวกระทรวงพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE) ประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 RON ลงมาอยู่ที่ 1.79 Dirhams/ลิตร หรือประมาณ 0.4874 เหรียญสหรัฐฯ /ลิตร ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58 โดยลดลง 8.7 % จาก 1.96 Dirhams/ลิตร ในเดือน ก.ย. 58 ขณะที่ PJK Inteational B.V. รายงานปริมาณสำรอง น้ำมันเบนซิน เชิงพาณิชย์บริเวณ Amsterdam-Rotterdam-Antwerp (ARA) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ต.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน  0.5% มาอยู่ที่ 7.91 ล้านบาร์เรล และ สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ เดือน ส.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 9.7 % อยู่ที่ 61.0 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากรจีนรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซิน เดือน ส.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 18 % อยู่ที่ 3.9 ล้านบาร์เรล และ โรงกลั่นน้ำมัน Ulsan (กำลังการกลั่น 669,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท  S-Oil ประเทศเกาหลีใต้ จะกลับมาเดินเครื่องหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ CDU No.2 (กำลังการกลั่น 240,000 บาร์เรลต่อวัน) ขณะที่ นาย Dwi Soetjipto, CEO ของบริษัท Pertamina ประเทศอินโดนีเซีย แถลงอินโดนีเซียจะนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปลดลงจากเดิม ประมาณ 15 % หรือ 80,000-100,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 700,000 -800,000 บาร์เรลต่อวัน  หลังโรงกลั่น Trans Pacific Petroleum Indotama หรือ TPPI (กำลังการกลั่น 100,000 บาร์เรลต่อวัน ) เริ่มเดินเครื่องในวันที่ 8 ต.ค. 58 ทั้งนี้ โรงกลั่น TPPI ผลิตน้ำมันเบนซิน 88 RON เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับ  โรงกลั่น Aden (กำลังการกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน) ของเยเมนกลับมาดำเนินการตามปกติ หลังปิดทำการเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ อีกทั้ง  Inteational Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 30 ก.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน  20,000 บาร์เรล อยู่ที่ 11.4 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 64.75 -67.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

        สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงจากกรมศุลกากรจีนรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดีเซลเดือน ส.ค. 58  สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 33 % อยู่ที่ 5.4 ล้านบาร์เรล และ กระทรวงพลังงาน UAE ประกาศปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลขึ้นมาอยู่ที่ 1.89 Dirhams/ลิตร หรือประมาณ 0.5146 เหรียญสหรัฐฯ /ลิตร ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58 โดยเพิ่มขึ้น 1.6 % จาก 1.86 Dirhams/ลิตร ในเดือน ก.ย. 58 อีกทั้ง Platts รายงานอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันดีเซลในเดือน ก.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 22.7 % และลดลงจากปีก่อน  16.6 % มาอยู่ที่ 3.1 ล้านบาร์เรล เพราะความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจากภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ และเหมืองแร่ ชะลอตัว อย่างไรก็ตามปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลในหลายประเทศลดลงอาทิ    PJK Inteational B.V. รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์บริเวณ ARA สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ต.ค. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน  1.6%  มาอยู่ที่ 26.48 ล้านบาร์เรล และ สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ เดือน ส.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 7.6 % มาอยู่ที่ 78.8 ล้านบาร์เรล และ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillate เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 30 ก.ย. 58 ลดลง จากสัปดาห์ก่อน 1.3 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 13.3 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์  โดยสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 57.75-60.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  

 

 

 

ปตท. มอบประกาศนียบัตรพนักงานสถานีบริการเอ็นจีวี ทำความดีให้กับสังคม
ปตท. แจ้งข่าวแหล่งสินภูฮ่อมกลับสู่ภาวะปกติ พร้อมพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อประชาชน
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 21-25 ก.ย. 58 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 28 ก.ย.- 2 ต.ค. 58 โดยฝ่ายแผนและบริหารบริษัทในเครือ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ปตท. เตรียมแผนสำรองพลังงานรับแหล่งก๊าซฯ เจดีเอ ปิดซ่อมบำรุง 12 วัน
ปตท. แจงแนวทางการจัดการคุณภาพก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าจะนะ
สนช. และ กลุ่ม ปตท. ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือ ถวายพระราชกุศลฯ